อนาคตของเรา (ทางพลังงาน อาหาร น้ำ และ เศรษฐกิจ) อยู่ที่ไหน ?

Our Future is Local

ผมได้ชมวิดิโอการบรรยายเรื่องหนึ่ง ชื่อว่า “Our Local Future: Climate Change, Peak Oil & The End of Money” โดยไม่ทราบชื่อผู้บรรยาย พบว่าที่เขานำเสนอเกี่ยวกับ Climate Change ตามด้วยเรื่อง Peak Oil และการทำลายคุณค่าของเงิน โดยหลักการของเศรษฐกิจทุนนิยม และจบด้วยการนำเสนอทางออก ที่บอกเราว่า อนาคต อยู่ที่การผลิตให้พอเพียงทั้งในด้านอาหารและพลังงาน ไมผลาญทรัพยากรของโลกโดยไม่จำเป็น เท่านั้น เราจึงจะิอยู่ได้ การบรรยายของเขายาว ๒๘ นาที ท่านสามารถชมบางส่วนได้จาก Youtube ข้างล่างนี้ครับ

(ท่านที่สนใจจะชมการบรรยายฉบับเต็ม ผมมีไฟล์ขนาด 950MB ของการบรรยาย ติดต่อขอได้ครับ)

ผู้บรรยาย ได้กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ว่ามนุษย์ได้ใช้พลังงานไปทำอะไรต่อมิอะไรมากมาย จนสร้างปัญหาทำให้โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยนสูงขี้นๆ ดังที่เราทุกคนได้ยินกันมาโดยตลอด แต่ข้อเท็จจริงที่สำคัญอันหนึ่ง คือปัญหาของการใช้น้ำมัน ซึ่งมีหลักฐานหลายประการที่ทำให้เราเชื่อได้ว่า ขณะนี้ โลกได้ผ่านช่วงสูงสุดของน้ำมันไปแล้ว

ในปี ๑๙๘๒ ซึ่งเป็นปีที่ปริมาณการบริโภคน้ำมัน มากกว่าการประมาณแหล่งน้ำมันที่สำรวจพบใหม่ในปีนั้นและปีต่อๆมา ดังนั้น ขีดความสามารถของโลกไม่ถึงขั้นที่จะรองรับการบริโภคของมนุษย์อีกแล้ว เราจะต้องหาทางออกเรื่องพลังงานให้ไ้ด้ จะต้องหาแหล่งพลังงานใหม่ในรูปแบบพลังงานหมุนเวียนแบบต่างๆ หรือจากชีวะมวลปัจจุบัน (โดยไม่ต้องรอเป็นล้านปีให้ซากพืชกลายเป็นฟอสซิล)

ท่านผู้นี้ได้กล่าวว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู เราได้สร้างถนน บ้านเรือน รถยนต์ เครื่องบิน และทำให้การเงินของโลกเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ แต่เมื่อถึงขณะนี้ ระบบการผลิตของเราไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมหรืออาหาร/การเกษตร ผูกพันกับราคาน้ำมันป็นอย่างมาก ความไม่สมดุล ทำให้เกิดการกู้ยืมเงินเกินความสามารถ ซึ่งมีความกว้างขวางเพียงพอที่จะทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้ ดังที่เพิ่งเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ราคาน้ำมันของโลก ขึ้นอยู่กับกำลังการผลิต และมีการแกว่งไม่พอดีกับการขยายกำลังการผลิต กล่าวคือ ในช่วง ๖๐ ปีที่ผ่านมาเมื่อความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตน้ำมันก็ดีใจกับราคาที่ค่อยๆเพิ่มขึ้นจนเกิดวิกฤตราคาน้ำมัน (ปี ๑๙๘๒) จากนั้น ผู้ผลิตก็ขยายกำลังการผลิตกันมากมาย จนมีออกมาอย่างพอเพียง ทุกคนก็โล่งอก คิดว่าหมดปัญหา ต่อมาในปี ๒๐๐๘ ก็เกิดปัญหานี้ขึ้นอีก แต่จากนี้ไป ถึงมีปัญญาแค่ไหน ก็คงจะยากที่จะผลิตน้ำมันให้พอเพียง

หากวิกฤตน้ำมันอยู่นาน จะทำให้อำนาจของเงินลดลง เพราะเราต้องไปจ่ายค่าน้ำมันที่แพงขึ้น เสมือนเงินลดค่าลง และเมื่อเงินลดค่าลง เราก็จะจับจ่ายน้อยลง ใช้ของนานขึ้น ซื้อบ้านใหม่น้อยลง ซึ่งล้วนแล้วที่จะเป็นเหตุสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจหดตัว และอาจจะอันตรายถึงขั้นล้มละลายได้ด้วย เราต้องพยายามไม่ให้พลังงานราคาแพงเพราะน้ำมันหายากขึ้น

หนทางหนึ่ง ที่จะทำให้เกิดความมั่นคงทางพลังงาน คือการหันมาหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ทั้งที่เป็นแบบที่ได้จากธรรมชาติ (เช่นแสงแดด พลังน้ำ พลังลม และการใช้พืชเป็นเชื้อเพลิง) และเพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด แหล่งที่ผลิตพลังงาน เช่น โรงไฟฟ้า ควรจะอยู่ใกล้กับแหล่งเชื่อเพลิง และอยู่ใกล้ชุมชน การขนส่งเชื้อเพลิงไปยังโรงไฟฟ้า และการส่งไฟฟ้าจากทางไกลมายังท้องถิ่น ล้วนแล้วจะทำให้เกิดความสูญเสียพลังงา่นไปทำในสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์อย่างมาก เมื่อจัดเป็น Local power แล้ว จะประหยัดเชื้อเพลิงไปได้ร่วม ๓๐%

ด้วยแนวความคิดเพื่อประหยัดพลังงานให้ถึงที่สุด การผลิตและใช้พลังงานในท้องถิ่น จะเกิดความประหยัดสูงสุด ทั้งนี้ ในชนบท อาจจะสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (๐.๕ ถึง ๒ Megawatts) โดยใช้เชื้อเพลิงจากเศษวัสดุการเกษตรได้

ภาพประกอบ

ภาพทุกภาพ คลิ๊กเพื่อชมภาพขยายได้


USA Oil Production เห็นได้ชัดว่ากำลังการผลิตลดลง – ตั้งใจหรือกลัวน้ำมันจะหมด หรือไปใช้น้ำมันอิรัคก่อน?


The Growing Gap – แสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่ปี ๑๙๙๒ เป็นต้นมา การค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ทำได้น้อยกว่าปริมาณน้ำมันที่ขุดขึ้นมา


When will be the oil peak? เราผ่านพ้นยุคสูงสุดของน้ำมันไปแล้วหรือ? ผ่านไปเมื่อปีใด?


รายงานของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินของสหรัฐ (GAO) เตือนให้มีการกำหนดยุทธศาสตร์อันเนื่องมาจากการลดลงของน้ำมันดิบ


All of Inflation’s Little Parts – เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น คนอเมริกันถูกกระทบที่ตรงไหนมากที่สุด? (จากภาพ จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายอาหาร/เครื่องดื่ม เป็น ๑๕% ค่าเดินทางเป็น ๑๕% ค่าบ้าน เป็น ๔๒%)


ภาพอนาคต – จะยุ่งจนโลกแตก หรือเข้าสู่ความสงบ? จากปัจจุบัน ตอนนี้เราอยู่ที่ post modern chaos และอนาคตที่ยั่งยืนไปถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน รุ่นเหลนของเรา จะไปทางไหน ขึ้นอยู่กับความประพฤติและความรับผิดชอบของคนรุ่นเรา – permaculture เพื่อลดการใช้พลังงานฟอสซิลน่าจะเป็นทางออก


แกนตั้งของภาพ แสดงปัญหาพลังงาน มลภาวะ ประชากร


ยุทธศาสตร์เพื่อความอยู่รอดสองยุทธศาสตร์ (๑) ลดการบริโภคพลังงานลง (๒) ผลิตอาหาร พลังงาน และบริการ/ผลิตภัณฑ์อื่นๆในท้องถิ่น

อาหารที่ผลิตในท้องถิ่นจะมีความสำคัญมากต่อการอยู่รอดของชุมชนของเรา

พลังงานที่ผลิตในท้องถิ่น ไ้ด้มาจากแสงอาทิตย์ จากลม จากน้ำและจากพืช


แบบบ้านที่ลดการใช้พลังงาน ทั้งเพื่อการทำความเย็นในหน้าร้อน และการเก็บความร้อนในหน้าหนาว

Energy Saving Home


แนวความคิดที่จะช่วยให้โลกน่าอยู่ต่อไปอีกนานๆ จึงน่าจะเกิดขึ้นจากการลดการใช้พลังงานลง เช่น ปิดไฟ ปิดแอร์เมื่อไม่ใช้งาน) สร้างบ้านให้เปลืองไฟน้อยด้วยระบบระบายอากาศที่ดี ไม่เดินทางโดยไม่มีความจำเป็น ใช้รถยนต์ส่วนตัวให้น้อยลง เป็นต้น ควบคู่กับการหันมาใช้พลังงานทดแทนแบบต่างๆ ทั้งที่มาจากธรรมชาติ และพลังงานจากพืช ซึ่งต้องปลูกโดยใช้ที่ดิน พรวนดิน

ท่านที่สนใจ อาจจะเข้าไปอ่านเอกสารจากงานประชุมนานาชาติ เรื่อง Peak Oil and Climate Change ได้ครับ ในเว็บ localfuture.org ซึ่งมีเสียงและวิดีโอการบรรยายของผู้เชี่ยวชาญหลายท่านให้เราดาวน์โหลดได้ในทุกส่วนของการสัมนา

จากเว็บนี้ ทำให้ผมทราบว่า วิทยากรที่เคยดูและชอบ คือ คุณAaron Wissner เพราะเขามาบรรยายเรื่อง Sustainability and Our Local Future ร่วมกับคนอื่นๆทุกคน พูดได้อารมณ์และได้ความรู้มากครับ เชิญชมที่ตัดตอนมาบางส่วนได้ที่นี่ครับ

และอีกประเด็นที่เขาเล่าด้วยสไลด์ ๕ รูป ใช้เวลา ไม่ถึงสามนาที ว่าด้วยเรื่อง Peak Oil
อ่านได้ที่ http://localfuture.org/conference/details/presentations/wissneraaron5slides.htm

ขอเชิญฟังการบรรยาย “อนาคตของความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน และน้ำ”

Seminar banner

Global Challenges: The Perfect Storm – The Future of Food, Energy and Water Security

A Public Lecture by Prof John Beddington, UK Government Chief Scientific Advisor

John Beddington

1000h – 1130h 30 September, 2009
NSTDA Auditorium, Thailand Science Park
Pahonyothin Rd, Tambon Klong Nung, Amphoe Klong Luang, Pathumthani

ศาสตราจารย์ เบดดิงตัน คาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ ความต้องการอาหารและพลังงานจะเพิ่มจากปัจจุบันราวๆ ๕๐% และความต้องการน้ำสะอาดจะเพิ่มขึ้น ๓๐% ในช่วงนั้น ประชากรโลก จะเพิ่มขึ้นเป็น ๘,๓๐๐ ล้านคน ท่านกังวลว่าการขาดแคลนอาหาร พลังงานและน้ำ จะนำไปสู่สงคราม การจลาจล และการอพยพของประชาชน เราอาจจะก้าวไปสู่ภาวะ Perfect Storm ที่ความแย่ทุกชนิดจะเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ดังนั้น การเตรียมการทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างพลังงานทางเลือกใหม่ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และวิธีการใช้น้ำที่ดีกว่าเดิม เพื่อเลี่ยงภาวะ Perfect Storm นี้จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นสุดๆ ท่านที่สนใจ เชิญมาฟัง และเสวนาเรื่องบทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับศาสตราจารย์เบดดิงตัน ในการเผชิญหน้ากับวิกฤตที่กำลังคืบคลานมา…

Growing populations, falling energy sources and food shortages will create the “perfect storm” by 2030 argues Prof John Beddington, the UK Government’s Chief Scientific Adviser. He predicts the demand for food and energy will jump 50 per cent by 2030 and for fresh water by 30 per cent, as the global population tops 8.3 billion which will create a global resource crisis.

In this lecture Prof Beddington will elaborate on this looming crisis and discuss the role of science and technology in meeting these challenges.

Prof Beddington was Professor of Applied Population Biology at Imperial College until his appointment as the UK Government’s Chief Scientific Advisor. He has acted as a senior adviser to several government and international bodies, including the Australian, New Zealand and US Governments, the European Commission, the United Nations Environment Programme and the Food and Agriculture Organisation. In June 1997 he was awarded the Heidelberg Award for Environmental Excellence and in 2001 he became a Fellow of the Royal Society. In 2004 he was awarded the Companion of the Order of St Michael and St George by the Queen for services to fisheries science and management.


ฟังการเสวนาฟรี ที่ห้อง Auditorium อาคารส่วนงานกลาง สวทช. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๐.๐๐-๑๑.๓๐ น. จองที่นั่งตามหมายเลขโทรศัพท์ ข้างล่างนี้

Admission Free. Seats are limited, to reserve your seat, please call the NSTDA International Cooperation Division Tel: 02 5647000 ext 1532-34. email: ic(at)nstda.or.th

Organised and supported by the National Science and Technology Development Agency and the British High Commission Singapore